test
30 ก.ค. 2563
วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 ตัวแทนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี ได้เข้าร่วมประชุม การเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำลุ่มน้ำปาวตอนบน ณ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10
22 ก.ย. 2563
วันที่ 15 กันยายน 2563 นางบัณจง ธนะแพสย์ ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ด้านการบริหารจัดการน้ำเสียของแหล่งกำเนิดมลพิษ "ระดับเงิน" จากสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ.2563 ณ ราชาวดี รีสอทร์ท จังหวัดขอนแก่น
29 ก.ค. 2563
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี โดย นพ.บรรพจน์ สุวรรณชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องปั่นไฟที่มีเสียงดัง ซึ่งส่งเสียงดังรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากทางโรงพยาบาลฯ ได้รับข้อทักท้วงเกี่ยวกับเสียงรบกวนดังกล่าว และไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้เร่งดำเนินการแก้ไขจนแล้วเสร็จ ทางโรงพยาบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแก้ไขดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนนี้ได้
22 ก.ค. 2563
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี วันที่ 9 มิถุนายน 2563 จากสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 10 เข้ารับการตรวจบ่อบำบัดน้ำเสีย
5 พ.ค. 2563
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี ออกหน่วยตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมงานวันแรงงานแห่งชาติจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2563 ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์
30 มี.ค. 2563
ความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาของชีวิต ไม่มีใครหนีพ้นความจริงข้อนี้ไปได้ แม้พยายามป้องกันเพียงใดก็ตาม ก็ย่อมมีวันที่จะต้องล้มป่วย ในยามนั้นนอกจากการเยียวยารักษากายแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือการดูแลรักษาใจ เพราะความป่วยใจมักเกิดขึ้นควบคู่กับความป่วยกาย บ่อยครั้งความป่วยใจยังซ้ำเติมให้ความป่วยกายเพียบหนักขึ้น หรือขัดขวางไม่ให้การเยียวยาทางกายประสบผลดี แต่หากดูแลรักษาใจให้ดีแล้ว ความทุกข์ทรมานก็จะลดลง อีกทั้งยังอาจช่วยให้ความเจ็บป่วยทุเลาลงด้วย ป่วยกายแต่ไม่ป่วยใจนั้น เป็นไปได้ หากรู้จักวางใจให้เป็น ยิ่งกว่านั้นใจที่มีสติและปัญญา ยังสามารถหาประโยชน์จากความเจ็บป่วยได้ด้วย เช่น ทำให้เกิดความเข้าใจในความเป็นจริงของชีวิต ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของสังขาร กระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท เร่งสร้างกุศล และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในขณะที่ยังมีเวลา ความเจ็บป่วยจึงสามารถเป็นปัจจัยผลักดันให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้จิตใจเจริญงอกงามและเป็นสุข ในยามเจ็บป่วยเราจึงไม่เพียงต้องการยารักษาโรคเท่านั้น หากยังจำเป็นต้องมีธรรมโอสถเพื่อรักษาใจด้วย ข้อเขียนและคำบรรยายในหนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนคำเชิญชวนให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของธรรมโอสถและทดลองใช้กับตนเอง ยาทุกชนิด แม้ว่าเราจะรู้สรรพคุณและส่วนประกอบ แต่หากไม่นำมาใช้กับตัวเอง ก็หาเกิดประโยชน์อันใดไม่ ธรรมโอสถก็เช่นกัน เพียงแค่รู้ยังไม่พอ ต้องนำมาปฏิบัติด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการริเริ่มของคุณบัณจง ธนะแพสย์ และคณะ มีความประสงค์ที่จะพิมพ์หนังสือเผยแพร่เป็นธรรมทาน ดังที่ได้ทำมาทุกปี โดยมีคุณงามศรี สุขุมพัฒน์ เป็น ผู้ประสานงาน ในการนี้ได้รับความอนุเคราะห์ภาพปกและภาพประกอบจากคุณพันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ทำให้หนังสือน่าอ่านมากขึ้น อาตมภาพขออนุโมทนาในกุศลเจตนาและการมีส่วนร่วมในบุญของทุกท่านทั้งที่เอ่ยนามและไม่ได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้ ขอกุศลจริยาดังกล่าวจงเป็นปัจจัยอำนวยให้ทุกท่านอุดมด้วยจตุรพิธพร ประสบความสุขเกษมศานต์ และเจริญงอกงามในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป พระไพศาล วิสาโล
29 ก.ค. 2562
ทำไมต้องมีการตรวจสุขภาพ ? เพราะคนเราอาจมีโรค/ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ซ่อนอยู่ในตัว ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้สูงอายุ ความผิดปกติที่ซ่อนอยู่นี้จะไม่แสดงอาการในระยะแรกหรือระยะที่มีความรุนแรงน้อย ทำให้คนเหล่านี้ไม่ได้ไปรับการตรวจสุขภาพ และปล่อยไว้นานเข้า (ซึ่งอาจกินเวลาเป็นแรมปีหรือนับสิบๆ ปี) โรค/ภาวะเสี่ยงที่ซ่อนอยู่นั้นก็จะกลายเป็นโรคที่กำเริบหนักและเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาในที่สุด ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงทำเพื่อ ค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่ในตัวโดยที่ยังไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น ซึ่งถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งเต้านมในระยะแรก มะเร็งปากมดลูกในระยะแรก เป็นต้น ซึ่งตามหลักการรักษาแล้ว การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกหรือระยะที่มีความรุนแรงน้อย จะรักษาโรคได้ทัน ไม่ลุกลาม ลดภาวะแทรกซ้อน บางโรคอาจรักษาให้หายขาดได้ หาปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเจ้าตัวอาจไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา เช่น กรรมพันธุ์ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย การมีอารมณ์เครียด ภาวะน้ำหนักเกินหรือลงพุง สภาพแวดล้อมหรือการทำงานที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรือความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในตัว (เช่น ความดันลูกตาสูง ซึ่งทำให้เกิดโรคต้อหิน ไวรัสตับอักเสบบีในเลือดซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรังและมะเร็งตับ) เมื่อพบว่ามีปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงอะไร หมอที่ตรวจก็จะให้การดูแลและให้คำแนะนำการปฎิบัติตัวป้องกันไม่ให้เกิดโรคตามมา ที่สำคัญผู้ที่มีภาวะเสี่ยงควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย
27 ก.ย. 2565
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี ร่วมขับเคลื่อนไปสู่โรงพยาบาลคุณภาพและความปลอดภัย 2P Safety
26 ก.ค. 2564
นโยบายความเป็นส่วนตัวในการใช้กล้องวงจรปิด